วันอังคารที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2555

การวิเคราะห์รายการในโครงการโทรทัศน์ครู

การวิเคราะห์รายการในโครงการโทรทัศน์ครู
1.ชื่อตอน : ต่อสู้กับเชื้อเอชไอวี
2.กลุ่มสาระ : วิทยาศาสตร์
3.ระดับชั้น : มัธยมศึกษา
4.ชื่อ นายสมภพ พินิจ 53410776 เอกชีววิทยา (คู่ขนาน)
ประเด็นในการวิเคราะห์
1. รูปแบบการ เรื่องย่อ เนื้อหา สรุป
แปดปีที่แล้ว เมื่อคลินท์ วอทเตอร์อายุเพียง 17 ปี เขาพบว่าเขาติดเชื้อเอชไอวี ข่าวนี้ทำให้คลินท์และครอบครัวหัวใจสลาย แต่ที่แย่กว่านั้นคือการที่คลินท์ กลายเป็นผู้ป่วยโรคเอดส์เต็มตัวอย่างรวดเร็วซึ่งทำให้เขาเกือบเสียชีวิต ดีที่การบำบัดผสมผสานสมัยใหม่ทำให้คลินท์กลับมามีสุขภาพดีดังเดิมได้เกือบเต็มร้อย ในรายการตอนนี้ เราพบกับคลินท์ในขณะที่เขากำลังเดินการกุศลเพื่อหาเงินให้แก่คลินิกหรือศูนย์ทดสอบเอชไอวีสุดสัปดาห์สำหรับเยาวชนที่เขาหวังว่าจะเปิด ในระหว่างการเตรียมตั้งคลินิก คลินท์ได้พบกับนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำหลายคนเพื่อหาข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับเอชไอวีและเอดส์ แรกสุด เขาพบ ดร. ไมเคิล แบรดี จากคิงส์ คอลเลจ ลอนดอน ผู้อธิบายว่าเหตุใดการควบคุมเอชไอวีจึงเป็นเรื่องยาก และพูดเกี่ยวกับความยากในการกินยาอย่างเคร่งครัดไปตลอดชีวิต ดร. แอนตัน พอซนิแอคเล่าเกี่ยวกับการทดสอบวัคซีน ในขณะที่ศาสตราจารย์โจนาธาน เวเบอร์เล่าให้เราฟังเกี่ยวกับการพัฒนาโครงการการป้องกัน และการทำลายเชื้อเอชไอวีซึ่งกำลังทดสอบอยู่ในแอฟริกาและสหราชอาณาจักร
2. จุดเด่นของรายการ
เป็นการศึกษาโดยอาศัยเหตุการหรือปัญหา เช่นในกรณีนี้คือปัญหาโรคHIV แล้วพูดถึงหลักการและความรู้เรื่องโรคHIV จากนั้นก็นำเข้าสู่วิธีการแก้ปัญหา ซึ่งทำให้เกิดความน่าสนใจแก่การเรียนรู้ เนื่องจากผู้เรียนจะมีความอยากรู้และพยายามคิดตามเพื่อหาวิธีการและแนวทางการแก้ไข
3. เทคนิคการนำไปประยุกต์ใช้
3.1 กลยุทธ์การสอน
การกำหนดปัญหาแล้วหาวิธีการการแก้ปัญหาโดยนำเอาความรู้ต่างๆที่เกี่ยวข้องเข้ามาเป็นส่วนประกอบในการแก้ปัญหานั้นๆ
3.2เรื่องสื่อโดยเฉพาะ
การใช้การทดลองทางวิทยาศาสตร์โดยแสดงให้เห็นถึงการเพาะเชื้อและการเติบโตของเชื้อ HIV และการใช้ ภาพ Animation ประกอบให้เกิดความเข้าใจในกระบวนของเชื้อได้ดียิ่งขึ้น
4. เรื่องที่สำคัญในแบบอย่างที่ดีและในแบบอย่างที่พึงระวัง
ในแบบอย่างที่ดี
การกำหนดปัญหา การใช้สื่อร่วมด้วย เช่นการทดลอง และการใช้ Animation
ในแบบอย่างที่พึงระวัง
การสอนโดยการกำหนดปัญหานี้อาจทำให้เกิดความสับสนและยากที่จะเข้าใจ เนื่องจากเรื่องที่นำมาสอนเช่น HIV เป็นเนื้อหาที่ค้อนข้างยาก ซึ่งหากถ้าตัวผู้เรียนไม่มีพื้นฐานทางชีววิทยาดีพอก็อาจทำให้เกิดความสับสนและไม่เข้าใจในเนื้อหาได้ ซึ่งอาจแก้ไขโดยการให้ความรู้เพิ่มเติมของครูผู้ควบคุม
5. สรุป
การสอนโดยการกำหนดปัญหานี้เป็นการสอนที่ทำให้นักเรียนมีความรู้ที่แท้จริงและสามารถประยุกค์ความรู้ต่างๆที่ได้เรียนมาใช้ในการแก้ปัญหาได้ แต่ตัวผู้เรียนต้องมีพื้นฐานทางขีววิทยาหรือเรื่องนั้นๆที่ศึกษาพอสมควร หรืออาจจะต้องมีครูผู้ให้คำแนะนำเพ่ามเติม

วันพฤหัสบดีที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2553

แขนงของชีววิทยา (Biology Section)

ชีววิทยาเป็นวิทยาศาสตร์ชีวภาพ (Biologocal Science) ประกอบด้วยสาขาต่างๆมากมาย สาขาที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย ได้แก่
1.Acarology ศึกษาเกี่ยวกับเห็บ(Tick) และไร (Mite)
2.Anatomy(กายวิภาคศาสตร์) ศึกาเกี่ยวกับโครงสร้างต่างๆของสิ่งมีชีวิต
3.Biochemistry(ชีวเคมี) ศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างและกระบวนการเปลี่ยนแปลงของ
สารชีวโมเลกุลในสิ่งมีชีวิต
4.Botany(พฤกษศาสตร์) ศึกาเกี่ยวกับพืช
5.Cytology ศึกษาเกี่ยวกับเซลล์
6.Ecology(นิเวศวิทยา) ศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตด้วยกัน และระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
7.Entomology(กีฏวิทยา) ศึกษาเกี่ยวกับแมลง
8.Embryology(คัพภวิทยา) ศึกษาเกี่ยวกับตัวอ่อนของสิ่งมีชีวิต
9.Evolution(วิวัฒนาการ) ศึกษาเกี่ยวกับการเจริญเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตจากอดีตจนถึงปัจจุบัน รวมทั้งแนวความคิดของคนเกี่ยวกีบวิวัฒนาการ
10.Genetics(พันธุศาสตร์) สึกษาเกี่ยวกับการถ่ายทอดลักษณะพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต
11.Histology ศึกษาเกี่ยวกับเนื้อเยื่อ(tissue) ทั้งด้านโครงสร้างและการจัดระเบียบของเนื้อเยื่อ
12.Helminthology ศึกษาเกี่ยวกับหนอนและพยาธิต่างๆ
13.Icthyology ศึกษาเกี่ยวกับปลา
14.Malacology ศึกษาเกี่ยวกับหอย
15.Mammalogy ศึกษาเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
16.Microbiology(จุลชีววิทยา) ศึกษาเกี่ยวกับจุลินทรีย์ ซึ่งประกอบด้วยหลายสาขาย่อย เช่น Bacteriology(ศึกษาเกี่ยวกับแบคที่เรีย) Virology(ศึกษาเกี่ยวกับไวรัส) Protozoalogy(ศึกษาเกี่ยวกับโพรโทซัว) ฯลฯ
17.Morphology (สัณฐานวิทยา) ศึกษาเกี่ยวกับโครวสร้างและรูปร่างทั่วไปของสิ่งมีชีวิต
18.Nutrtion(โภชนาการ) ศึกษาเกี่ยวกับสาริหาร และความสำคัญของอาหารต่อการดำรงชีพของสิ่งมีชีวิต
19.Ornithology(ปักษิณวิทยา) ศึกษาเกี่ยวกับนก
20.Paleontology(บรรพชีวินวิทยา) ศึกษาเกี่ยวซากโบราณ
21.Parasiology(ปรสิตวิทยา) ศึกษาเกี่ยวกับปรสิตของสิ่งมีชีวิต
22.Physiology(สรีรวิทยา) ศึกษาเกี่ยวกับกลไกและหน้าที่การทำงานของอวัยวะต่างๆในร่างกาย หลักสูตรมัธยมปลายจะครอบคลุมสาขานี้มากที่สุด
23.Taxonomy(อนุกรมวิธาน) ศึกษาเกี่ยวกับการจัดหมวดหมู่ของสิ่งทีชีวิตในลำดับขั้น (Taxon) ต่างๆจาก Kingdom (อาณาจักร) จนถึง Species (ชนิดของสิ่งมีชีวิต)
24.Zoology(สัตววิทยา) ศึกษาเกี่ยวกับสัตว์ต่างๆทั้งพวกมีกระดูกสันหลัง (Invertebrate)
25.เทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology) หมายถึง การประยุกต์ใช้ควสมรู้เยวกับสิ่งมีชีวิต เพื่อประโยชน์เฉพาะอย่าง โดยอาศัยกระบวนการพันธุวิศวกรรม (Genetic engineering) ซึ่งเป็นการตัดต่อยีน การสังเคราะห์ยีน การควบคุมการแสดงออกของยีน และการเปลี่ยนแปลงยันภายในเซลล์ โดยเฉพาะเซลล์ของจุลินทรีย์ที่มีศักยภาพสูงในการนำมาใช้ประโยชน์ได้ตรงตามความต้องการในปริมาณมาก และรวดเร็ว รวมทั้วมีคุณภาพดีกว่าตามธรรมชาติ