วันอังคารที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2555

การวิเคราะห์รายการในโครงการโทรทัศน์ครู

การวิเคราะห์รายการในโครงการโทรทัศน์ครู
1.ชื่อตอน : ต่อสู้กับเชื้อเอชไอวี
2.กลุ่มสาระ : วิทยาศาสตร์
3.ระดับชั้น : มัธยมศึกษา
4.ชื่อ นายสมภพ พินิจ 53410776 เอกชีววิทยา (คู่ขนาน)
ประเด็นในการวิเคราะห์
1. รูปแบบการ เรื่องย่อ เนื้อหา สรุป
แปดปีที่แล้ว เมื่อคลินท์ วอทเตอร์อายุเพียง 17 ปี เขาพบว่าเขาติดเชื้อเอชไอวี ข่าวนี้ทำให้คลินท์และครอบครัวหัวใจสลาย แต่ที่แย่กว่านั้นคือการที่คลินท์ กลายเป็นผู้ป่วยโรคเอดส์เต็มตัวอย่างรวดเร็วซึ่งทำให้เขาเกือบเสียชีวิต ดีที่การบำบัดผสมผสานสมัยใหม่ทำให้คลินท์กลับมามีสุขภาพดีดังเดิมได้เกือบเต็มร้อย ในรายการตอนนี้ เราพบกับคลินท์ในขณะที่เขากำลังเดินการกุศลเพื่อหาเงินให้แก่คลินิกหรือศูนย์ทดสอบเอชไอวีสุดสัปดาห์สำหรับเยาวชนที่เขาหวังว่าจะเปิด ในระหว่างการเตรียมตั้งคลินิก คลินท์ได้พบกับนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำหลายคนเพื่อหาข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับเอชไอวีและเอดส์ แรกสุด เขาพบ ดร. ไมเคิล แบรดี จากคิงส์ คอลเลจ ลอนดอน ผู้อธิบายว่าเหตุใดการควบคุมเอชไอวีจึงเป็นเรื่องยาก และพูดเกี่ยวกับความยากในการกินยาอย่างเคร่งครัดไปตลอดชีวิต ดร. แอนตัน พอซนิแอคเล่าเกี่ยวกับการทดสอบวัคซีน ในขณะที่ศาสตราจารย์โจนาธาน เวเบอร์เล่าให้เราฟังเกี่ยวกับการพัฒนาโครงการการป้องกัน และการทำลายเชื้อเอชไอวีซึ่งกำลังทดสอบอยู่ในแอฟริกาและสหราชอาณาจักร
2. จุดเด่นของรายการ
เป็นการศึกษาโดยอาศัยเหตุการหรือปัญหา เช่นในกรณีนี้คือปัญหาโรคHIV แล้วพูดถึงหลักการและความรู้เรื่องโรคHIV จากนั้นก็นำเข้าสู่วิธีการแก้ปัญหา ซึ่งทำให้เกิดความน่าสนใจแก่การเรียนรู้ เนื่องจากผู้เรียนจะมีความอยากรู้และพยายามคิดตามเพื่อหาวิธีการและแนวทางการแก้ไข
3. เทคนิคการนำไปประยุกต์ใช้
3.1 กลยุทธ์การสอน
การกำหนดปัญหาแล้วหาวิธีการการแก้ปัญหาโดยนำเอาความรู้ต่างๆที่เกี่ยวข้องเข้ามาเป็นส่วนประกอบในการแก้ปัญหานั้นๆ
3.2เรื่องสื่อโดยเฉพาะ
การใช้การทดลองทางวิทยาศาสตร์โดยแสดงให้เห็นถึงการเพาะเชื้อและการเติบโตของเชื้อ HIV และการใช้ ภาพ Animation ประกอบให้เกิดความเข้าใจในกระบวนของเชื้อได้ดียิ่งขึ้น
4. เรื่องที่สำคัญในแบบอย่างที่ดีและในแบบอย่างที่พึงระวัง
ในแบบอย่างที่ดี
การกำหนดปัญหา การใช้สื่อร่วมด้วย เช่นการทดลอง และการใช้ Animation
ในแบบอย่างที่พึงระวัง
การสอนโดยการกำหนดปัญหานี้อาจทำให้เกิดความสับสนและยากที่จะเข้าใจ เนื่องจากเรื่องที่นำมาสอนเช่น HIV เป็นเนื้อหาที่ค้อนข้างยาก ซึ่งหากถ้าตัวผู้เรียนไม่มีพื้นฐานทางชีววิทยาดีพอก็อาจทำให้เกิดความสับสนและไม่เข้าใจในเนื้อหาได้ ซึ่งอาจแก้ไขโดยการให้ความรู้เพิ่มเติมของครูผู้ควบคุม
5. สรุป
การสอนโดยการกำหนดปัญหานี้เป็นการสอนที่ทำให้นักเรียนมีความรู้ที่แท้จริงและสามารถประยุกค์ความรู้ต่างๆที่ได้เรียนมาใช้ในการแก้ปัญหาได้ แต่ตัวผู้เรียนต้องมีพื้นฐานทางขีววิทยาหรือเรื่องนั้นๆที่ศึกษาพอสมควร หรืออาจจะต้องมีครูผู้ให้คำแนะนำเพ่ามเติม